ความเข้าใจ

..::เรารักพระพุทธศาสนา  -*(>_<) หน้าธรรมะ -วัดกาศผาแพร่ -ยินดีต้อนรับ (^_^)*-::..
บทความของฉัน
วัดกาศผาแพร่
|
::ความเข้าใจ-The understanding::
 Open our mind. 
To learn the difference.
And understand each other.
By the power of the friendship.
จงเปิดใจ
เรียนรู้ความแตกต่าง
และเข้าใจซึ่งกันและกัน
ด้วยพลังแห่งมิตรภาพ.


บางครั้ง
เราก็ต้องยอมเดิน
 "ออกห่าง" จากบางสิ่ง
เพื่อเข้าใจ...
ความจริงบางอย่าง. 
 

 
"เราไม่สามารถกำหนดทุกอย่างให้เป็นอย่างใจต้องการ สิ่งเดียวที่เราสามารถควบคุมได้ คือหัวใจของเราเอง บางครั้งการหยุดฝืน แล้วปล่อยบางสิ่งให้เป็นไปตามทางของมัน อาจเป็นทางออกที่ดีที่สุด"

คนยุคใหม่ให้ระวังเรื่องอาหารปลอมอาหารทดลอง
เบสต์ฟู๊ดกู๊ดเทสอาจไม่ได้เก็ตเป็นอย่างที่คิด
คงมีสารพิษไนเตร็ดไนไตร๊ สารพิษสารหนู สารไซยาไน๊ด์
ทำลายสมองและไม่ปลอดภัย
หากกินหากใช้ตับไตบวมพอง
อาจตายสยองผ่อนส่งทุกวัน.

しぜんをまもりしたら、しぜんからまもられます。
しぜんをはかいしたら、しぜんからはかいされます。
shizenwomamorishitara, shizenkaramamoraremast.
shizenwohakaishitara, shizenkarahakaisaremast. 
自然を守りしたら、自然から守られます。
自然を破壊したら、自然から破壊されます。
ชิเซนโอะมะโมริชิตะร่ะ, ชิเซนคะร่ะมะโมระเระมัส.
ชิเซนโอะฮะคัยชิตะร่ะ, ชิเซนคะร่ะฮะคัยสะเระมัส.
เมื่อปกป้องธรรมชาติ, ก็จะได้รับการปกป้องจากธรรมชาติ.
เมื่อทำลายธรรมชาติ, ก็จะถูกธรรมชาติทำลาย.

Once you protect nature, it is protected from nature.
Once you destroy the nature, it will be destroyed from nature.


"มัคนายก" กับคำว่า "มัคทายก" 
   คำว่า "มัคนายก" เป็นคำที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะได้ยิน ไม่ค่อยได้ใช้ แต่มักจะได้ยินคำว่า"มัคทายก" มากกว่า และคิดว่าคำๆ นี้เป็นคำที่ใช้เรียก คนแก่ๆ ที่คอยนำกล่าวคำบูชา คำอาราธนาพระ และพิธีการทางสงฆ์ต่างๆ ในวัดเป็นประจำ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดมานาน "มัคทายก" เป็นคำสมาส มาจากภาษาบาลี ๒ คำ คือ "มัคค" (แปลลว่า ทาง) + "ทายก" (แปลว่า ผู้ถวายจตุปัจจัยแด่ภิกษุสงฆ์ ผู้นับถือศาสนา ) รวมความแล้ว จึงหมายถึง ทางของผู้นับถือศาสนา 
    ส่วน "มัคนายก" เป็นคำสมาสเช่นกัน มาจากภาษาบาลี ๒ คำ คือ "มัคค" (แปลลว่า ทาง) + "นายก" (แปลว่า ผู้นำ ) รวมความแล้ว จึงหมายถึง ผู้นำทาง ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "มัคนายก" ว่าหมายถึง ผู้จัดการทางกุศล ผู้ชี้แจงทางบุญ แต่ไม่มีการให้ความหมายของ "มัคทายก" ไว้ดังนั้น ถ้าจะใช้คำเพื่อเรียก คนแก่ๆ ที่คอยนำเรากล่าวคำบูชา คำอาราธนา คำถวายสิ่งของให้พระที่วัดแล้ว คำว่า "มัคนายก" จึงเป็นคำที่ถูกต้องมากกว่า "มัคทายก"

ไวยาวัจกร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
   ไวยาวัจกร (อ่านว่า ไวยาวัดจะกอน) แปลว่า ผู้ขวนขวายช่วยทำกิจของสงฆ์ หมายถึงผู้ช่วยเหลือรับใช้พระสงฆ์ ทำกิจธุระแทนสงฆ์
 ไวยาวัจกร ตามกฎหมายหมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัต และมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ และกำหนดให้ไวยาวัจกรเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
   การแต่งตั้งไวยาวัจกรเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส วัดหนึ่งอาจมีไวยาวัจกรได้หลายคน ความเป็นไวยาวัจกรสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าอาวาสผู้แต่งตั้งให้ออกหรือเจ้าอาวาส ผู้แต่งตั้งพ้นจากความเป็นเจ้าอาวาส เช่น ลาออก ลาสิกขา มรณภาพ
คฤหัสถ์ผู้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นไวยาวัจกร ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

      (๑) เป็นชาย มีสัญชาติไทย นับถือพระพุทธศาสนา
      (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์
      (๓) เป็นผู้มีหลักฐานมั่นคง
      (๔) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ไวยาวัจกรได้
      (๕) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองตามระบบรัฐธรรมนูญ
      (๖) ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือมีโรคเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
     (๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี เช่น มีความประพฤติเสเพล เป็นนักเลงการพนัน เสพสุราเป็นอาจิณ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
      (๘) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
    (๙)  ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกลงโทษให้ออกจากราชการ หรือองค์การของรัฐบาล หรือบริษัทห้างร้านเอกชน ใน ความผิดหรือมีมลทินมัวหมองในความผิดเกี่ยวกับการเงิน
      (๑๐) ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกลงโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
     เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติในข้อ ๖ โดยตลอดแล้ว จะเห็นได้ว่าได้กำหนด "คุณสมบัติ" ของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งไวยาวัจกรไว้มากถึง ๑๐ ประการ ทั้งนี้ โดยมีเหตุผลและความมุ่งหมายอันสำคัญอยู่หลายประการ แต่ถ้าจะกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ไวยาวัจกร ซึ่งแยกพิจารณาโดยสังเขป ได้ดังนี้
      (๑) เนื่องจากในการปฏิบัติหน้าที่ของไวยาวัจกร จะต้องมีการติดต่อประสานงานกับบุคคล "หลายฝ่าย" เช่น เจ้าอาวาสและบรรพชิตในวัดนั้นฝ่ายหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องฝ่ายหนึ่ง ตลอดถึงประชาชนทั่วไปอีกฝ่ายหนึ่ง จึงจำเป็นต้องกำหนด "คุณสมบัติ" เกี่ยวกับเรื่องเพศ วัย สัญชาติ ศาสนา หลักฐานการครองชีพ ความรู้ความสามารถความคิดเห็นทางการเมือง รวมทั้งมีร่างกายและจิตใจอันสมบูรณ์ ดังที่ได้บัญญัติไว้ตั้งแต่ประการที่ ๑ ถึงประการที่ ๖ ทั้งนี้ ด้วยความมุ่งหมายเพื่อให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนั้นให้ดำเนิน ไปโดยเรียบร้อย
       (๒) นอกจากนี้ ไวยาวัจกรยังมีหน้าที่อันสำคัญอีกส่วนหนึ่งกล่าวคือ มีหน้าที่ต้องรับ เก็บรักษา และเบิกจ่าย "เงินศาสนสมบัติ" ของวัดเป็นจำนวนมากตามที่เจ้าอาวาสมอบหมาย จึงจำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับเรื่อง "ความประพฤติ" มิให้บกพร่องในศีลธรรมอันดี ไม่เป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เคยมีความผิดเสียหายเกี่ยวกับการเงิน ตลอดถึงไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเพราะกระทำผิดอาญามาก่อน ดังที่ได้บัญญัติไว้ตั้งแต่ประการที่ ๗ ถึงประการที่ ๑๐ ทั้งนี้ โดยมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผู้ที่มีเกียรติเป็นที่เชื่อถือไว้ว่างใจ และเพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตบกพร่องเสียหายแก่ทรัพย์สินของวัดและพระ พุทธศาสนา
      ฉะนั้น ในเรื่อง "คุณสมบัติ" ของไวยาวัจกรทั้ง ๑๐ ประการ ตามที่บัญญัติไว้ จึงจัดเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการคัดเลือกและแต่งตั้งไวยาวัจกร เพราะถ้าปรากฏว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นไวยาวัจกรนั้น "บกพร่อง" จากคุณสมบัติเพียงประการใดประการหนึ่ง การแต่งตั้งย่อมไม่เป็นการสมบูรณ์ตามกฎหมาย
      นอกจากนี้ยังต้องดำเนินการให้ชอบด้วย "วิธีการ" แต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะได้พิจารณาในลำดับต่อไป

การแต่งตั้งคณะกรรมการ
   เจ้าอาวาสเป็นผู้แต่งตั้งโดยอำนาจตามมาตรา ๓๘(๓) พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๕ แต่จะด้วยการพิจารณาของเจ้าอาวาสเอง หรือด้วยการถวายคำแนะนำจากญาติโยมก็แล้วแต่ ส่วนเรื่องหน้าที่ก็แล้วแต่การมอบหมายอีกเช่นกัน รวม ๆ คือ การบริหารจัดการศาสนกิจ และศาสนสมบัติให้เป็นไปด้วยดี.

การปล่อยวาง ไม่ได้หมายถึง การหยุดให้ความสนใจ
"แต่เป็นการเริ่มให้ความเข้าใจ"

เขียนขึ้นเพื่อการเรียนรู้
-หากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
kwang

Copyright© 2012 - 2020 wadkadphaphrae.blogspot.com 
Design | All rights reserved.
ขอสงวนลิขสิทธิ์
และเพื่อปกป้องสิทธิ์ของผู้เขียนในทุกกรณี