มรรค 8

พุทธธรรมคำสอน


..กลับอันไหนก็ได้..

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

..(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
..........แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว
..........คำว่า มรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วอำนาจของอวิชชา ....มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :- 

.........1. สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง
..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
..........8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง

.....การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
..........การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค
....
.สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา)
.....คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกแลทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะ ซึ่งจัดเป็นการเห็นอริยสัจจ์นั้นย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง คือ ต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร อย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิทของทุกข์ มภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้อย่างไสัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้น เรียกเป็นวิชชาไปและไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว
สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา)
.....คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้ว ข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์
.สัมมาวาจา (ศีล)
.....คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
.สัมมากัมมันตะ (ศีล)
.....คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
.สัมมาอาชีวะ (ศีล)
.....คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น
.สัมมาวายามะ (สมาธิ)
.....คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทางดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า
.สัมมาสติ (สมาธิ)
.....คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลออวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ โดยเฉพาะได้แก่กายนี้ และธรรมอันเนื่องเกี่ยวกับกายนี้ เมื่อพบความจริงของกายนี้ อวิชชาหรือหัวหน้าแห่งมูลทุกข์ก็สิ้นไป
.สัมมาสมาธิ (สมาธิ) 
.....คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็นอาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญา ทำการแทตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ
....cองค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศลเจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับมรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่น สัมมทิฏฐิ-สติ-สมาธิ ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิกอยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกันเป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า "การอบรมทำให้มาก"
.....สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามส่วนองค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคีพร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรมยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า.

>>กลับ<<
อิทธิบาท4 พรหมวิหาร4สังคหวัตถุ4อริยสัจ4
โลกธรรม8มรรค8ทิศ6ความกตัญญู