ศาสนาหมายถึง

พุทธธรรมคำสอน


..กลับอันไหนก็ได้..
ศาสนา

ศาสนา หมายถึง อะไร?

ศาสนา หมายถึง คำสอน, คำสั่งสอน, การสั่งสอน

ศาสน ศาสนา  ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน   [สาสะนะ สาดสะนะ สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความเชื่อถือ นั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน ข้อบังคับ ป. สาสน).   น. คำสั่งสอน, การสั่งสอน

"พระพุทธศาสนา"

       คำว่า พระพุทธศาสนา ประกอบด้วยคำว่า พุทธะ ซึ่งแปลว่า ผู้รู้ กับคำว่า ศาสนา ที่แปลว่า คำสั่งสอน รวมกันเข้าเป็น พุทธศาสนา แปลว่า คำสั่งสอนของผู้รู้ เมื่อพูดว่า พุทธศาสนา ความเข้าใจก็ต้องแล่นเข้าไปถึงลัทธิปฏิบัติ และคณะบุคล ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติในลัทธิปฏิบัตินั้น ไม่ใช่มีความหมายแต่เพียงคำสั่งสอน ซึ่งเป็นเสียงหรือเป็นหนังสือ หรือเป็นเพียงตำรับตำราเท่านั้น พระพุทธศาสนาที่เราทั้งหลายในบัดนี้ได้รับนับถือและปฏิบัติเนื่องมาจากอะไร คือเราได้อะไรจากสิ่งที่เรียกว่า พระพุทธศาสนา นั้นมานับถือปฏิบัติในบัดนี้ เมื่อพิจารณาดูแล้วก็เห็นว่า เราได้หนังสือ อย่างหนึ่ง บุคคล อย่างหนึ่ง หนังสือนั้นก็คือตำราที่แสดงพระพุทธศาสนา บุคคนั้นก็คือพุทธศาสนิกที่แปลว่าผู้นับถือพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกนี้มิใช่หมายเพียงแต่คฤหัสถ์ หมายความถึงทั้งบรรพชิตคือนักบวช และคฤหัสถ์คือผู้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา พูดอีกอย่างหนึ่งได้แก่ พุทธบริษัทคือหมู่ของผู้นับถือ พระพุทธเจ้า ดังที่เรียกว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา แต่ในบัดนี้ภิกษุณีไม่มีแล้ว ก็มีภิกษุกับสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา หรือบุคคที่เรียกว่า พุทธมามกะ พุทธมามิกา ก็รวมเรียกว่าพุทธบริษัทหรือพุทธศาสนิกทั้งหมด คือในบัดนี้มีหนังสือซึ่งเป็นตำราพระพุทธศาสนา และมีบุคคลซึ่งป็นพุทธศาสนิกหรือเป็นพุทธบริษัท ทั้ง ๒ อย่างนี้ หนังสือก็มาจากบุคคลนั่นเอง คือ บุคคลที่เป็นพุทธศาสนิกหรือเป็นพุทธบริษัทได้เป็นผู้ทำหนังสือขึ้น และบุคคลดังกล่าวนี้ก็ได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล และสืบต่อมาตั้งแต่จากที่เกิดของพระพุทธศาสนา มาจนถึงในต่างประเทศของประเทศนั้น ดังเช่นในประเทศไทยในบัดนี้ คือว่าได้มีพุทธศาสนิกหรือพุทธบริษัทสืบต่อกันมา จึงมาถึงเราทั้งหลายในบัดนี้ และเราทั้งหลายในบัดนี้ก็ได้เป็นพุทธศาสนิกคือพุทธบริษัทในปัจจุบัน และคนรุ่นต่อ ๆ ไปก็จะสืบต่อไปอีก
      เมื่อทราบว่า เราในบัดนี้ได้ทราบพระพุทธศาสนาจากหนังสือและจากคณะบุคคลซึ่งเป็นพุทธศาสนิก ดั่งที่กล่าวมาโดยย่อนี้แล้ว ก็ควรจะทราบต่อไปว่า เมื่อศึกษาจากหนังสือและบุคคลที่เป็นพุทธศาสนิกชนที่เป็นครูบาอาจารย์ต่อ ๆ กันมา จึงได้ทราบว่าต้นเดิมของพระพุทธศาสนานั้น ก็คือ "พระพุทธเจ้า"
      คำว่า พระพุทธะ แปลว่า พระผู้รู้ ในภาษาไทยเราเติมคำว่า เจ้า เรียกว่า พระพุทธเจ้า คือเอาความรู้ของท่านมาเป็นชื่อ ตามพุทธประวัติที่ทราบจากหนังสือทางพระพุทธศาสนา ดังกล่าวนั้น พระพุทธเจ้าก็เป็นบุคคลคือเป็นมนุษย์เรานี่เอง ซึ่งมีพระประวัติดั่งที่แสดงไว้ในพระพุทธประวัติ แต่ว่าท่านได้ค้นคว้าหาความรู้ จนประสบความรู้ที่เป็นโลกุตระ คือความรู้ที่เป็นส่วนเหนือโลก หมายความง่าย ๆ ว่า ความรู้ที่เป็นส่วนโลกิยะหรือเป็นส่วนโลกนั้น เมื่อประมวลเข้าแล้วก็เป็นความรู้ที่เป็นในด้านสร้างบ้าง ในด้านธำรงรักษาบ้าง ในด้านทำลายบ้าง ผู้รู้เองและความรู้นั้นเองก็เป็นไปในทางคดีโลก ซึ่งต้องเป็นไปตามคติธรรดาของโลก ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เพราะต้องเกี่ยวข้องอยู่กับโลก นอกจากนี้ยังเป็นทาสของตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากของใจ ถึงจะเป็นเจ้าโลกแต่ไม่เป็นเจ้าตัณหา ต้องเป็นทาสของตัณหาในใจของตนเอง จึงเรียกว่ายังเป็นโลกิยะ ยังไม่เป็นโลกุตตรคืออยู่เหนือโลก แต่ความรู้ที่จะเป็นโลกุตระ คืออยู่เหนือโลกได้นั้นจะต้องเป็นความรู้ที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสและกอง ทุกข์ดั่งกล่าวได้ พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้ปฏิญญาพระองค์ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม ซึ่งทำให้เป็นโลกุตระคืออยู่เหนือโลก คือทำให้ท่านผู้รู้นั้นเป็นผู้พ้นจากกิเลสและกองทุกข์ดั่งกล่าวนั้น ท่านผู้ประกอบด้วยความรู้ดั่งกล่าวมานี้ และประกาศความรู้นั้นสั่งสอน ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นต้นเดิมของพระพุทธศาสนา
       พระธรรม ทีแรกก็เป็นเสียงที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า เป็นเสียงที่ประกาศความจริงให้บุคคลทราบธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้ เพราะฉะนั้น เสียงที่ประกาศความจริงแก่โลกนี้ก็เรียกกันว่าพระธรรมส่วนหนึ่ง หรือเรียกว่าพระพุทธศาสนา คือเป็นคำที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า เป็นคำสั่ง เป็นคำสอน ข้อปฏิบัติที่คำสั่งสอนนั้นชี้ ก็เป็นพระธรรมส่วนหนึ่ง ผลของการปฏิบัติก็เป็นพระธรรมส่วนหนึ่ง เหล่านี้เรียกว่าพระธรรม
      หมู่ชนได้ฟังเสียงซึ่งออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ได้ความรู้พระธรรมคือความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน จนถึงได้บรรลุโลกุตตรธรรม ธรรมะที่อยู่เหนือโลกตามพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระสงฆ์ คือหมู่ของชนที่เป็นสาวกคือผู้ฟังของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้รู้พระธรรมตามพระพุทธเจ้าได้ พระสงฆ์ดังกล่าวนี้เรียกว่าพระอริย สงห์ มุ่งเอาความรู้เป็นสำคัญเหมือนกัน ไม่ได้มุ่งว่าจะต้องเป็นคฤหัสถ์หรือจะต้องเป็นบรรพชิต และเมื่อรู้พระธรรมของพระพุทธเจ้าก็ประกาศตนนับถือพระพุทธเจ้า ที่มีศรัทธาแก่กล้าก็ขอบวชตาม ที่ไม่ถึงกับขอบวชตามก็ประกาศตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา จึงได้เกิดเป็นบริษัท ๔ ขึ้น คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในบริษัท ๔ นี้ หมู่ของภิกษุก็เรียกว่าพระสงฆ์เหมือนกัน แต่เรียกว่าสมมติสงฆ์ สงฆ์โดยสมมติ เพราะว่าเป็นภิกษุตามพระวินัยด้วยวิธีอุปสมบทรับรองกันว่าเป็นอุปสัมบันหรือ เป็นภิกษุขึ้น เมื่อภิกษุหลายรูปมาประชุมกันกระทำกิจของสงฆ์ก็เรียกว่า สงฆ์
      พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ที่เป็นอริยสงฆ์ทั้ง ๓ นี้ รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย ซึ่งเป็นสรณะที่พึ่งอย่างสูงสุดในพระพุทธศาสนา
      ความเป็นอริยสงฆ์นั้นเป็นจำเพาะตน ส่วนหมู่แห่งบุคคลที่ดำรงพระพุทธศาสนาสืบต่อมาก็คือพุทธบริษัทหรือพุทธ ศาสนิกดังกล่าวมาข้างต้น ในพุทธบริษัทเหล่านี้ ก็มีภิกษุสงฆ์นี่แหละเป็นบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นผู้พลีชีวิตมาเพื่อปฏิบัติดำรงรักษาพระพุทธศาสนา นำพระพุทธศาสนาสืบ ๆ ต่อกันมา จนถึงในบัดนี้.
>>กลับ<<
พุทธประวัติ พุทธแปลว่า ศาสนาคือ ศีล 10
กรรมธรรมหลักธรรมพระรัตนตรัย